วันพฤหัสบดีที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ข่าวประชาสัมพัธ์

คุณครูควรรู้ไว้

Public Domain คือผลงานที่ไม่คุ้มครองด้วยกฎหมายลิขสิทธิ์ ใครจะเอาไปใช้อย่างไรก็ได้ ถือว่าผลงานนั้นเป็นของสาธารณชนแล้ว งานที่เข้าข่าย public domain ก็เช่น
1. ผลงานที่เคยมีลิขสิทธิ์ แต่เจ้าของผลงานตายไปแล้วเป็นเวลา 50 ปี อย่างเช่นบทละครของเช็คส์เปียร์ รูปปั้นเดวิด Fifth Symphony ของ Beethoven ปีนี้คือ ค.ศ. 2007 ผลงานทุกชิ้นที่ผลิตก่อนปี ค.ศ. 1923 ถือว่าอยู่ใน public domain ทั้งสิ้น
2. เอกสารจากรัฐบาลที่เผยแพร่ออกสู่สาธารณชน ถ้างานนั้นผลิตโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐภายใต้ตำแหน่งงานของเขา ไม่ใช่งานที่เจ้าหน้าที่สร้างขึ้นเป็นการส่วนตัว แม้จะเกี่ยวข้องกับงานที่ทำก็ตาม
3. งานที่ผลิตขึ้นก่อนปี ค.ศ. 1978 และไม่มีข้อความระบุชัดเจนว่าเป็นงานจดลิขสิทธิ์ ในขณะที่ผลงานที่สร้างขึ้นหลังปี 1978 ถือเป็นงานมีลิขสิทธิ์ (โดยอันโนมัติ) ทั้งสิ้น
4. งานประเภทหาเจ้าของไม่เจอ หมายถึงผลงานอะไรก็แล้วแต่ที่ผู้ต้องการนำไปใช้ได้พยายามค้นหาตัวเจ้าของแล้ว แต่ไม่รู้ว่าเป็นใคร ถือว่าเป็นงานใน public domain ไปโดยปริยาย
5. ผลงานที่ผู้สร้างผู้ผลิตไม่ต้องการให้เป็นผลงานลิขสิทธิ์ ก็อาจระบุไว้ให้ชัดเจนว่าอย่างนั้น งานนั้นก็จะไปอยู่ใน public domain ทันที

ที่มา : http://www.kroobannok.com

บทความเทคโนโลยีการศึกษา

ห้องเรียนเสมือน (Virtual Classroom) หมายถึง การเรียนการสอนผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์โดยใช้ช่องทางของระบบการสื่อสารและอินเทอร์เน็ต ผู้เรียนสามารถใช้คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกับระบบอินเทอร์เน็ตเข้าไปเรียนในเว็บไซต์ ที่ออกแบบกระบวนการเรียนการสอนให้มีสภาพแวดล้อมคล้ายกับเรียนในห้องเรียนแบบปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับผู้สอนและผู้เรียนกับผู้เรียน โดยมีบรรยากาศเสมือนพบกันจริง กระบวนการเรียนการสอนจึงไม่ใช่การเดินทางไปเรียนในห้องเรียนแต่เป็นการเข้าถึงข้อมูลเนื้อหาของบทเรียนได้โดยผ่านคอมพิวเตอร์

ที่มา : http://www.kroobannok.com

ทฤษฎีทางการศึกษา

1 ทฤษฎีการเรียนรู้จากการเก็บข้อมูล (Retention Theory) ทฤษฎีนี้กล่าวว่า ความสามารถในการเรียนรู้ขึ้นอยู่กับ ความสามารถที่จะ เก็บข้อมูล และเรียกข้อมูลที่เก็บเอาไว้กลับคืนมา ทั้งนี้รวมถึง รูปแบบของข้อมูล ความมากน้อยของข้อมูล จากการเรียนรู้ขั้นต้น แล้วนำไปปฏิบัติ
2 ทฤษฎีการเรียนรู้โดยใช้การโยกย้ายปรับเปลี่ยนข้อมูล (Transfer Theory) ทฤษฎีนี้กล่าวว่า การเรียนรู้มาจาก การใช้ความเชื่อมโยง ระหว่าง ความเหมือน หรือความเกี่ยวข้องระหว่างข้อมูลใหม่กับข้อมูลเก่า ทฤษฎีนี้ขึ้นอยู่กับ ข้อมูลขั้นต้นที่เก็บเอาไว้ด้วยเช่นกัน
3 ทฤษฎีของความกระตือรือร้น (Motivation Theory) ทฤษฎีนี้กล่าวว่า ความสามารถในการเรียนรู้ขึ้นอยู่กับความตั้งใจที่จะเรียนรู้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความสนใจ ความกังวล การประสบความสำเร็จและผลที่จะได้รับด้วย เช่น ถ้าทำอะไรแล้วได้ผลดี เด็กจะรู้สึกว่า ตนเองประสบความสำเร็จ ก็จะมีความกระตือรือร้น
4 ทฤษฎีการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมอย่างจริงจัง (Active Participation Theory) ทฤษฎีนี้กล่าวว่า ความสามารถ ในการเรียนรู้ ขึ้นอยู่กับ ความอยากจะเรียนรู้ และมีส่วนร่วม ถ้ามีความอยากเรียนรู้ และอยากมีส่วนร่วมมาก ความสามารถในการเรียนรู้ก็จะมีมากขึ้น
5 ทฤษฎีการเรียนรู้จากการเก็บรวบรวมและการดำเนินการจัดการกับข้อมูล (Information Processing Theory)

ความรู้ทั่วไป

ขาดเกลืออาจทำให้เป็นโรคซึมเศร้าได้


ไตของมนุษย์สามารถขจัดเกลือออกจากร่างกายได้แค่ 5-7 กรัม ภายใน 24 ชั่วโมง ส่วนที่เหลือก็อยู่ในร่างกายซึ่งจะทำให้ความดันโลหิตสูง ทั้งนี้ นักวิชาการจากมหาวิทยาลัยไอโอวา ได้บอกสาเหตุว่าทำไมคนจึงชอบเติมเกลือในอาหาร ก็เนื่องจากอาหารรสเค็มทำให้มีความสุขและความพึงพอใจ เกลือทำให้อารมณ์ร่าเริง เปรียบเสมือนยาต้านโรคซึมเศร้าก็ว่าได้ เมื่อขาดเกลือก็อาจทำให้เป็นคนเฉื่อยชาและเป็นโรคซึมเศร้าได้ หากมีความรู้สึกอยากกินเค็ม ก็เพราะร่างกายขาดเกลือ คือมีผลกับสมอง เหมือนกับการติดยาเสพติด นักวิชาการได้ทดสอบกับหนูโดยการให้อาหารที่ปราศจากเกลือ ผลปรากฎว่าหนูมีอาการหงอยเหงา ไม่กระปรี้กระเปร่า แทบจะไม่กินน้ำหวาน และไม่ขยับร่างกายเพื่อออกกำลัง นักวิชาการจึงสรุปว่า หากขาดเกลือก็จะทำให้เป็นโรคสำคัญ ๆ และทำให้เป็นโรคซึมเศร้า

วันพุธที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

งานที่ 5 บล็อกที่น่าสนใจ

1. มีข้อความที่สั้นๆแต่ได้ใจความ

2. เป็นที่นิยม

3. มีการอัปเดทข้อมูลอยู่ตลอดเวลา

4. มีลักษณะ ลูกเล่นมากมาย

5. มีการจัดเรียงบล็อกที่ดี

6. จัดหมวดหมู่ได้น่าสนใจ

7. มีความสวยงาม

ข่าวการศึกษา

ปรับสัดส่วนผู้แทนใน ก.ค.ศ.ใหม่

นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผยผลการประชุม ก.ค.ศ. ครั้งที่ ๘/๒๕๕๓ เมื่อเร็วๆ นี้ว่า
ที่ประชุมยังได้พิจารณา (ร่าง) กฎ ก.ค.ศ. ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการได้มาของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิและกรรมการผู้แทนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาใน ก.ค.ศ. พ.ศ. .... โดยที่ พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๓ ได้กำหนดองค์ประกอบของ ก.ค.ศ. ในส่วนของกรรมการผู้แทนข้าราชการและบุคลากรทางการศึกษาใหม่ จากเดิม ๙ คน เป็น ๑๒ คน จากเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ได้แก่
(๑) ผู้แทนผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จำนวน ๑ คน
(๒) ผู้แทนผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา จำนวน ๑ คน
(๓) ผู้แทนผู้บริหารสถานศึกษาหรือผู้แทนผู้บริหารสถานศึกษาที่เรียกชื่ออย่างอื่นในหน่วยงานการศึกษา ตามที่ ก.ค.ศ. กำหนด ซึ่งสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จำนวน ๑ คน
(๔) ผู้แทนผู้บริหารสถานศึกษาหรือผู้แทนผู้บริหารสถานศึกษาที่เรียกชื่ออย่างอื่นในหน่วยงานการศึกษา ตามที่ ก.ค.ศ. กำหนด ซึ่งสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา จำนวน ๑ คน
(๕) ผู้แทนข้าราชการครู สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จำนวน ๓ คน
(๖) ผู้แทนข้าราชการครู สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา จำนวน ๑ คน
(๗) ผู้แทนข้าราชการครู สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จำนวน ๑ คน
(๘) ผู้แทนข้าราชการครู สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา สังกัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา หรือสังกัดกระทรวงวัฒนธรรม จำนวน ๑ คน
(๙) ผู้แทนบุคลากรทางการศึกษาอื่น สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จำนวน ๑ คน
(๑๐) ผู้แทนบุคลากรทางการศึกษาอื่น สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา จำนวน ๑ คน รมว.ศธ. กล่าวว่า เนื่องจากองค์ประกอบดังกล่าวยังไม่ครอบคลุมบางหน่วยงาน เช่น กศน. และการศึกษาพิเศษ ที่ประชุมจึงขอให้ อ.ก.ค.ศ.ระบบไปศึกษาเรื่องนี้ และนำกลับมาเข้าที่ประชุม ก.ค.ศ. ใหม่อีกครั้งหนึ่ง และเพื่อให้การแก้ไขปัญหาตามพระราชบัญญัติทั้ง ๓ ฉบับ มีประสิทธิภาพ ตลอดจนมีการปรับปรุงการบริหารงานบุคคล เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาและมัธยมศึกษาให้เป็นไปตามกฎหมายในช่วงเวลา ๑๘๐ วัน จึงได้มีการตั้งคณะทำงานชุดหนึ่ง เพื่อจัดทำแผนปฏิบัติงานรองรับกฎหมายทั้ง ๓ ฉบับต่อไป

ที่มา http://www.moe.go.th